Posts Tagged ‘ การศึกษา ’

(การบริหาร, Dr.Kriengsak) เข้าตานาย_กลยุทธ์พลิกบทหัวหน้าจอมเผด็จการ (Part 3)

มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ดีกว่าการตัดสินใจ “อย่างนี้ต้องลาออก!!!!” หางานใหม่ดีกว่าหรือไม่ ?

ลูกน้องบางคนที่ใจกล้า อาจเข้าไปชี้แจงเหตุผลและพร้อมโต้เถียงกับหัวหน้าซึ่ง ๆ หน้า บางคนเลือกใช้วิธีนินทาหัวหน้าลับหลังเป็นการระบายความอัดอั้นตันใจ บางคนอาจตอบโต้หนักด้วยการหาทางแก้แค้น ตลบหลัง หรือหาช่องทางทำลายความน่าเชื่อของหัวหน้า (discredit) ลูกน้องจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะหนีปัญหา โดยหาช่องทางย้ายไปฝ่ายอื่น หรือหางานใหม่ Continue reading

(การบริหาร, Dr.Kriengsak) เข้าตานาย_กลยุทธ์พลิกบทหัวหน้าจอมเผด็จการ (Part 1)

จาก “อำนาจนิยม” สู่ “มิตรภาพนิยม”

 

ในฐานะลูกน้อง คุณคิดว่า หัวหน้างานของคุณมีลักษณะดังต่อไปนี้หรือไม่

…สั่งให้ทำ ต้องทำตาม ถ้าไม่ทำตาม มีปัญหาแน่

…เหตุผลหัวหน้าเป็นใหญ่ ไม่ว่าใครหน้าไหนห้ามขัด ห้ามโต้แย้ง

…รู้จักแต่ “สั่งงาน” ไม่ “สอนงาน”

…ใครสนองบัญชาได้มากกว่า คนนั้นเจริญรุ่งเรือง

…ทำผิดพลาด ไม่ตรงคำสั่ง ถูกด่า ถูกเด้ง

…มีการเชือดไก่ให้ลิงดู โดยกดดันพนักงาน ‘ไม่พึงประสงค์’ ให้อยู่ไม่ได้

 

หากหัวหน้าของคุณมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอย่างบางส่วนที่ยกมา อาจกล่าวได้ว่า คุณกำลังเผชิญกับหัวหน้าจอมเผด็จการ (Authoritarian) เข้าให้แล้ว

ดักลาส แมค เกรเกอร์ ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะหัวหน้าจอมเผด็จการไว้ว่า หัวหน้าประเภทนี้มักคิดว่า แหล่งที่มาของอำนาจนั้นมาโดยตำแหน่ง ไม่ได้มาจากความศรัทธาที่ลูกน้องมีต่อบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของเขา ดังนั้น เขาจึงต้องแสดงพฤติกรรมที่มุ่งบีบบังคับลูกน้อง อีกทั้งเชื่อว่าพื้นฐานของมนุษย์นั้นเกียจคร้าน ไว้ใจไม่ได้ ต้องถูกควบคุมอย่างใกล้ชิด และต้องมีการบังคับขู่เข็ญอยู่เสมอจึงจะทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์กร

นอกจากนี้ หัวหน้าลักษณะนี้ มักจะยึดเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่ ทุกคนต้องทำตาม “คำบัญชา” ห้ามโต้แย้ง ห้ามเสนอความคิดเห็น (ถ้าไม่ได้ขอร้อง) เห็นคุณค่าเฉพาะคนที่ทำตามคำสั่ง คนที่เคยขัดใจ หรือเคยโต้แย้งกับหัวหน้าเพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน จะได้รับผลตอบแทน คือ ไม่เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ลูกน้องที่ยังยินยอมทำงานอยู่ด้วย จึงต้องทำตัวเป็นเหมือน “ทาสที่ไม่มีสมอง” เพื่อแลกกับความก้าวหน้าของตน

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

(การบริหาร Dr.Kriengsak)หัวหน้างาน “อคติ” ประเมินผล “ยุติธรรม” ได้ ?? (Part End)

ข้อแนะนำเพื่อให้การประเมินผล ยุติธรรม ปราศจากอคติมากที่สุด หัวหน้างานควรดำเนินการ ดังนี้

 

ยึดมั่นศักดิ์ศรี “หัวหน้า” ต้องตระหนักและเห็นคุณค่าของตำแหน่งที่ผู้บริหารให้ความไว้วางใจ มอบหมายให้เราทำ การเป็นหัวหน้าเป็นเหมือนสิทธิพิเศษ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด สิ่งหนึ่งนั่นคือ การยึดมั่นในความยุติธรรม ไม่บิดเบือนด้วยอคติหรือความลำเอียงในใจ ในการประเมินต้องมีความเป็นธรรมต่อผู้ร่วมงานทุกคน แม้ว่า เมื่อประเมินแล้ว อาจทำให้บางคนไม่พอใจ หรือเราอาจไม่ต้องการให้เป็นบ้าง แต่ให้ภูมิใจว่าเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว

พิจารณาตามหลักฐาน ในการประเมิน เราต้องเอา “อคติ” วางไว้ แล้วพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ โดยพิจารณาหลักฐานที่มีอยู่ให้มากที่สุด อาทิ

จัดทำมาตรฐานการประเมินที่ชัดเจน ในการประเมินพนักงานแต่ละคน ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่ละเอียดและชัดเจนพอที่จะสามารถประเมินแต่ละบุคคลได้ และสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ เมื่อเราประเมินแล้ว ผู้บริหารระดับสูงสามารถพิสูจน์ความจริงได้

จัดทำตารางการประเมินผล หากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานว่าจะต้องประเมินเรื่องใดบ้าง หรือมีแต่ไม่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล แนะนำว่าให้จัดทำตารางการประเมินผล โดยลงรายการว่าต้องการประเมินเรื่องอะไรบ้าง และพยายามประเมินในแต่ละช่องให้ถูกต้องและตรงกับความจริงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

พิจารณาการประเมินผลที่ผ่าน ๆ มาของบุคคลนั้น เพื่อให้หัวหน้าประเมินโดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวน้อยที่สุด สิ่งหนึ่งที่ทำได้ คือ เราอาจนำการประเมินผลในปีที่ผ่าน ๆ มาของบุคคลนั้นมาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งเขาอาจได้รับการประเมินจากหัวหน้าคนอื่น ๆ มาก่อน อันจะช่วยให้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากเราได้

ถามผู้ร่วมงานคนอื่น ๆ เราอาจสร้างชุดคำถามขึ้นมาชุดหนึ่ง  และนำไปถามกับพนักงานคนอื่น ๆ โดยอ้อม เพื่อให้ช่วยประเมินคนนั้น อันอาจทำให้เราเห็นมุมมองความคิดที่แตกต่างจากเราเกี่ยวกับบุคคลนั้นได้

วิเคราะห์ – วิพากษ์ ความรู้สึกตนเอง พยายามอธิบายในรายละเอียดว่า เพราะเหตุใดเราจึงชอบ – ไม่ชอบพนักงานคนนี้ แจกแจงรายละเอียดออกมา แล้วนำมาพิจารณาว่าเหตุผลเหล่านั้น เกี่ยวข้องกับลักษณะงานที่เขารับผิดชอบหรือไม่ ส่งผลกระทบทางตรง ทางอ้อม ต่องานหรือไม่ ถ้าไม่ก็ตัดสิ่งนั้นออกไป ไม่ต้องนำมาใช้ในการประเมิน

แม้อคติสามารถเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน แต่ในฐานะหัวหน้างาน จำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นคนที่มี ‘ใจสูง’ เกินกว่าที่จะกล้าใช้อคตินั้นบิดเบือนความยุติธรรม หัวหน้างานที่ดีควรเรียนรู้ที่จะแยกแยะสาระความเป็นคนแต่ละคน ออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อยประเมินด้วยหลักฐานที่อ้างอิงได้ ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะสามารถดำรงคุณค่าและศักดิ์ศรีของการเป็นหัวหน้าไว้ได้ อีกทั้งย่อมมีส่วนสร้างความเจริญแก่องค์กรในระยะต่อไป

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

(การบริหาร Dr.Kriengsak)หัวหน้างาน “อคติ” ประเมินผล “ยุติธรรม” ได้ ?? (Part 2)

 หัวหน้างานประเมินแบบตอบแทนความดีลูกน้อง

           ประเมินแบบตอบแทนความดี หัวหน้างานจำนวนไม่น้อยใช้ช่วงเวลานี้ในการตอบแทนความดีที่ลูกน้องมีต่อตน โดยไม่ได้ประเมินตามความสามารถในการทำงาน เช่น ลูกน้องมีนิสัยดี มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงานทุกคน ยินดีช่วยเหลือแม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง แม้ในงานที่เป็นความรับผิดชอบของตนจะทำผิดพลาดเป็นประจำด้วยความไม่รอบคอบ ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน แต่หัวหน้างานกลับประเมินแบบให้รางวัลความมีน้ำใจ ให้ทำงานในตำแหน่งที่ดีกว่าเดิม ได้เงินดีกว่าเดิม กลายเป็นการประเมินแบบตอบแทนความดี แต่ไม่ได้มาจากการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการทำงาน

       ประเมินแบบล้างแค้นให้สะใจ ในทางตรงกันข้าม เมื่อหัวหน้างานต้องประเมินผลลูกน้องที่ตนรู้สึก “ไม่ชอบหน้า” อาจด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เพราะเขาเป็นคนหยิ่ง เห็นแก่ตัว ชอบโต้แย้ง ไม่ฟังคำสั่ง ถือว่าตนเองมีการศึกษาดีกว่า หลายครั้งเรารู้สึกเหมือนถูกพูดจาดูถูกดูแคลน ทำให้ในใจลึก ๆ ไม่อยากร่วมงานกับคน ๆ นี้ เวลาประเมินผลเราย่อมมีแนวโน้มให้คะแนนต่ำ ๆ หรือประเมินให้รู้สึกว่าเขาต้องรับโทษในสิ่งที่ทำกับเรา ทั้ง ๆ ที่ในงานที่ทำเขาอาจเป็นคนที่รับผิดชอบงานดี มีความคิดสร้างสรรค์ แต่เรากลับละเลยประเด็นเหล่านี้ไป

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

(การบริหาร)หัวหน้างาน “อคติ” ประเมินผล “ยุติธรรม” ได้ ?? (Part 1)

หน้าที่ประการหนึ่งของหัวหน้างาน

หน้าที่ประการหนึ่งของหัวหน้างานที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ นั่นคือ การประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาว่าแต่ละคนทำงานเป็นเช่นไร รับผิดชอบต่อหน้าที่ดีหรือไม่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรได้ตามมาตรฐานเพียงใด เพื่อสรุปว่า แต่ละคนสมควรได้รับการขึ้นเงินเดือนเท่าไร ควรเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ หรือควรย้ายแผนกไปทำงานประเภทอื่นดีกว่า หรือให้อยู่อย่างเดิม รับเงินเท่าเดิม เพราะประเมินแล้วได้ผลไม่น่าพึงพอใจ

ช่วงเวลาแห่งการประเมินผล อาจเป็นช่วงเวลาที่สะท้อนคุณภาพของหัวหน้างานจำนวนไม่น้อย..

             ประเมินแบบเกรงใจ หัวหน้างานบางรายไม่กล้าประเมินตามความเป็นจริง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าลูกน้องบางคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ผิดพลาดบ่อย เนื่องจากกลัวว่าจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน เกรงว่าลูกน้องจะไม่พอใจ และจะยิ่งไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน จึงต้องประเมินให้เท่าเทียมกัน ทั้งคนที่ทำงานดีและทำงานไม่ค่อยดี

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

หัวหน้าพาทีม “เสียคน” ผล…องค์กร “เสียหาย” (Part4)

เป็นผู้พิทักษ์ลูกน้อง…แต่ไม่แยแสองค์กร

หัวหน้าประเภทนี้จัดอยู่ในพวกรักลูกน้องมาก  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ผิด แต่ผิดตรงที่รักลูกน้องมากจนเกิดความลำเอียง เกิดการเข้าข้างอย่างไม่ยุติธรรม โดยไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น

–  เมื่อลูกน้องทำผิดพลาดจะแก้ตัวให้ ในลักษณะ “ลูกน้องลูบหน้า หัวหน้าปะจมูก” แทนที่จะให้เขาเรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น

–  เมื่อได้รับคำสั่งให้ทำงานเพิ่ม ด้วยความกลัวว่าลูกน้องจะทำงานหนัก มักช่วยอ้างว่าคนนี้มีงานล้นมืออยู่แล้ว

–  เมื่อถึงวาระปรับเงิน จะเสนอปรับเงินให้ทุกครั้งแม้ไม่มีผลงานเลย

–  และหากคนไหนทำงานไม่ดีจะปล่อยไว้ ไม่แก้ไข แต่ไปเลือกใช้คนอื่นแทน

–  แทนที่จะฝึกคนทำงานให้ทำงานเป็น ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น กลับส่งเสริมให้ทำงานน้อยลง เฉื่อยชาลง แต่องค์กรต้องรับภาระมากขึ้น

ที่ผ่านมา ในระบบราชการก่อนการปฏิรูป ผู้บังคับบัญชามักไม่กล้าลงโทษข้าราชการเพราะยึดหลัก “ไม่ทุบหม้อข้าวลูกน้อง” เมื่อเห็นว่าใครทำงานไม่ดีก็ลงโทษด้วยการไม่ใช้งานแทนการให้ออกจากงาน ทำให้เกิดภาวะกำลังพลเสื่อม สิ่งนี้เป็นวัฒนธรรมการทำงานในระบบราชการที่กำลังได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตามคงไม่ได้แก้ไขกันง่าย ๆ เพราะเป็นระบบอุปถัมภ์แบบนี้มานานหลายรุ่นคน นับสิบปีแล้ว เราคงเห็นคนที่ไม่มีประสิทธิภาพนั่งแช่อยู่ในระบบ จนกลายเป็นภาพที่เคยชินและเลียนแบบไปตาม ๆ กัน

การกระทำของหัวหน้าเท่ากับเป็นการทำลายทั้งองค์กร ตัวลูกน้อง และตัวหัวหน้าเองด้วย ในส่วนองค์กรจะเป็นองค์กรที่มีคนมากแต่ประสิทธิภาพต่ำ ส่วนคนทำงานย่อมไม่เรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง อาจเป็นคนที่ทำงานไม่เป็น เมื่อเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาและถูกประเมินผลจริงจังอาจถูกลดตำแหน่งหรือแม้กระทั่งเชิญออก หรือเมื่อมีพนักงานใหม่ไฟแรงเข้ามา ทำงานอย่างจริงจัง รวดเร็วและทุ่มเท นั่นย่อมเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดีว่าพนักงานเก่า ๆ ที่หัวหน้าเคยปกป้องไว้ แท้จริงแล้วเป็นพนักงานที่ไร้ประสิทธิภาพ

ส่วนตัวหัวหน้า เมื่อผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปพบความจริง ย่อมเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี เพราะเห็นว่าหัวหน้าไม่มีใจให้กับเป้าหมายขององค์กร แต่มุ่งผลประโยชน์ส่วนตน และปกป้องผลประโยชน์ของลูกน้องมากกว่า แน่นอนว่าผู้บริหารระดับสูงย่อมไม่พึงพอใจและต้องหาวิธีจัดการแน่

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

หัวหน้าพาทีม “เสียคน” ผล…องค์กร “เสียหาย” (Part3)

เป็นเพื่อนกิน เพื่อนเที่ยว…เฮฮาจนเสียงาน

หัวหน้างานประเภทนี้เป็นพวกไม่ชอบใช้อำนาจ แต่เห็นลูกน้อง-ทีมงานทุกคนเป็นเพื่อนไปหมด มุมหนึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะช่วยสร้างความรู้สึกสนิทสนม เป็นกันเอง แต่จะไม่ดีเมื่อกลายสภาพเป็นเพื่อนกิน เพื่อนเที่ยวที่ต้องตั้งวงสังสรรค์หลังเลิกงานกันเป็นประจำ

ตัวหัวหน้าอาจตั้งตัวเป็น “หัวโจก” พากิน พาเที่ยว หลังเวลาเลิกงาน ซึ่งอาจทำให้เสียงานได้ เพราะกินดื่มเลี้ยงฉลองจนดึกดื่น ไม่ได้คิดว่าวันรุ่งขึ้นจะมาทำงานไหวหรือไม่ มาแล้วทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ส่งผลให้วันรุ่งขึ้นบางคนต้องลาหยุดงาน บางคนมาได้แต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่หัวหน้าไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือน เพราะตนเองก็อยู่ในสภาพที่ไม่แตกต่างกันนัก ทำให้ต่างคนต่างต้องช่วย ๆ กันแก้ตัวกับผู้บังคับบัญชาในระดับที่สูงขึ้นไป ว่าเหตุใดงานไม่เสร็จหรือไม่ได้คุณภาพตามที่พึงประสงค์

ทางที่ดีกว่าหัวหน้าควรทำหน้าที่ “นำ” ในทางที่ดีด้วย แม้อยู่นอกเวลาการทำงาน ควรคำนึงทั้งสวัสดิภาพของทีมงานและผลผลิตที่จะเกิดแก่องค์กร

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

หัวหน้าพาทีม “เสียคน” ผล…องค์กร “เสียหาย” (Part1)

องค์กรที่สามารถสกัดกั้นด้านมืดของบุคลากรมิให้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อองค์กรได้ คือ องค์กรที่ฉลาด…บทสรุปประการหนึ่งที่ผมได้จากประสบการณ์ทำงาน

ในตอนนี้ ผมจะกล่าวถึงด้านมืดด้านหนึ่งของบุคลากรที่ควรสกัดกั้น นั่นคือ พฤติกรรมหัวหน้าที่เป็นเหตุให้ลูกน้อง “เสียนิสัย” หรือมีความประพฤติที่ไม่ประสงค์ภายในองค์กร

ลูกน้องเสียนิสัยเพราะหัวหน้าเป็นเหตุ สังเกตได้จากคำพูดทำนองนี้

… “วันนี้ไม่ได้งานเลย เพลียทั้งวัน เมื่อวานพี่หัวหน้าชวนไปฉลอง เลยดื่มหนักไปหน่อย ป่านนี้ยังไม่สร่างเลย”

… “เรื่องเท่านี้เอง ไม่เป็นไร บอกพี่หัวหน้าได้ แกรักพวกเราจะตาย รับรองความผิดนี้ไม่ถึงหูบอสส์ใหญ่แน่”

… “ดูสิ ไม่มีใครเห็นด้วยกับความคิดหัวหน้าเลย เชื่อคำแนะนำของเราเถอะ ไม่ต้องเห็นด้วยกับผู้บริหารหรอกในเรื่องนี้” 

… “ไม่ต้องขยันให้มากหรอก แค่ทำตัวให้สนิทสนม ทำดีกับหัวหน้าไว้ สิ้นปีได้ดีแน่นอน”

……..

หากเราเคยได้ยินคำกล่าวประเภทนี้ที่พนักงานพูดกันนั่นแสดงว่า องค์กรของเรามีหัวหน้างานที่มีปัญหาแล้ว แน่นอนว่าย่อมนำไปสู่ความตกต่ำขององค์กร และถ้าองค์กรตกต่ำ ไม่พัฒนา เข้าสู่ยุคเสื่อม ด้วยเหตุหัวหน้างานเป็น “ต้นเหตุ” ทำให้ลูกน้องเสียนิสัย หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมให้องค์กรพัฒนา ผมคิดว่าหัวหน้าที่มีลักษณะเช่นนี้ องค์กรไม่ควรปล่อยไว้

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที (End) จากบทความของ Dr.Kriengsak

แสดงออกถึงการเห็นคุณค่าในความคิดของแต่ละคน

ลูกน้องหลายคนกลัวความผิดพลาดจะตกแก่ตน กลัวล้มเหลว กลัวเสียหน้า บางคนคิดว่าตนเองมีความสามารถไม่มากพอที่จะคิดได้ดีกว่าหัวหน้า หรือคนที่มีประสบการณ์มากกว่า จึงไม่กล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากหัวหน้าหรือคนหมู่มาก เพราะเกรงว่าเมื่อเสนออะไรออกไปคนอื่นจะรู้สึกขบขัน หรือมองว่ามีความคิดตื้น ๆ

ในความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่า คนทุกคนมีเสรีภาพและศักยภาพในการคิด ดังนั้น หัวหน้างานจึงมีภารกิจสำคัญในการเป็นตัวหลักคอยกระตุ้นให้คนกล้าคิดและตั้งใจใช้ความคิดอย่างเต็มที่ แม้ว่าบางครั้งความคิดนั้นจะแตกต่างหรือขัดแย้งกับหัวหน้าหรือคนส่วนใหญ่ก็ตาม และควรรับฟังด้วยดีเมื่อพนักงานได้คิดใคร่ครวญในข้อเสนอมาอย่างดี โดยนำข้อเสนอเหล่านั้นไปคิดทบทวนเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดอีกครั้ง

ในกรณีที่ความคิดหรือข้อเสนอของพนักงานยังไม่ดีเพียงพอ แต่หัวหน้าสังเกตเห็นว่า พนักงานคนนั้นได้ใช้ความพยายามอย่างสุดกำลังความสามารถในการกลั่นกรองความคิดนั้น ๆ แล้ว หัวหน้าควรชมเชยในความพยายามของเขา จากนั้นค่อยชี้แจงถึงข้อบกพร่องด้วยเหตุด้วยผลให้พนักงานได้รับรู้ถึงจุดอ่อนเพื่อปรับปรุงข้อเสนอ และให้กำลังใจเขาในการคิดข้อเสนออื่น ๆ ต่อไป

หัวหน้าควรสร้างกลไกบางอย่างที่ทำให้พนักงานได้รับความสำเร็จทุกครั้งจากการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ให้รางวัลคนที่พยายามคิด เช่น มอบรางวัลให้กับพนักงานที่เสนอความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาระบบการทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดให้ดีขึ้น และแนวคิดนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง สิ่งตอบแทนที่หัวหน้ามอบให้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของเงินทองหรือสิ่งของเท่านั้น แต่อาจอยู่ในรูปของการให้เกียรติ ยกย่อง และประกาศผลงานให้คนอื่นๆ ได้รับรู้และร่วมแสดงความยินดี

 

องค์กรจะเติบโตและพัฒนายาก หากคนรอบข้างหัวหน้างานมีแต่คนอย่าง Mr. Yes เพราะขาด“พลังทวีคูณ” ที่กลั่นและหลอมรวมจากมันสมองของพนักงานทุกคน อันเป็นพลังสำคัญขับเคลื่อนองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคนี้ ดังนั้น หัวหน้างานควรพยายามเต็มที่ในการกระตุ้นพนักงานทุกคนให้ปลดปล่อยศักยภาพทางความคิด ความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อทั้งตัวพนักงาน ต่อทีมงานและต่อทั้งองค์กร

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที จากบทความของ Dr.Kriengsak

กระตุ้นพนักงาน “รัดเข็มขัดทางความคิด” (Part2)           

การกระตุ้นคนประเภทนี้ หัวหน้าควรแสดงความตั้งใจ ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดในการวิพากษ์ เสนอแนะแนวทางต่าง ๆ ไม่ใช่นั่งประชุมพอเป็นพิธี รอให้การประชุมจบ ๆ ไปเท่านั้น  และต้องคอยกระตุ้นให้ทีมงานออกแรงคิด โดยชี้แจงต่อพนักงานเหล่านี้ว่า พนักงานที่ขาดความจดจ่อ ไม่ให้เวลา ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ตั้งใจลงทุนลงแรงคิดอย่างเต็มที่ การกระทำเช่นนี้นับเป็นการปัดความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าและทีมงานคนอื่น ๆ ดังนั้น ควรเห็นคุณค่าของการคิด แสดงออกถึงความพยายามคิดกับงานต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาอย่างดีที่สุด

อีกวิธีหนึ่งอาจให้ทีมงานช่วยคิด โดยที่หัวหน้าตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ เช่น “คุณคิดว่า ข้อเสนอของคุณสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด” และให้ทุกคนใช้ความคิดอย่างเต็มที่ มีโอกาสเสนอความเห็นของตนต่อที่ประชุม รวมทั้งให้จดความคิดที่ดีของเพื่อนมาขบคิด การจดไม่เพียงช่วยเตือนความจำ แต่ยังเป็นกระบวนการที่ฝึกฝนการจับประเด็นและช่วยให้เราขบคิดในเรื่องที่สำคัญ

ในกรณีที่การประชุมครั้งนั้น ๆ มีเวลาจำกัด ควรแนะนำให้ทีมงานกลับไปคิดต่อได้ เช่น ระหว่างเดินทาง และเขียนประเด็นที่คิดเพิ่มส่งมาให้เลขาฯ ของที่ประชุมในวันอื่น ๆ เพื่อรวบรวมเสนอต่อที่ประชุมในวาระต่อไป เป็นต้น

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com