Posts Tagged ‘ การศึกษา ’

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที จากบทความของ Dr.Kriengsak

กระตุ้นพนักงาน “รัดเข็มขัดทางความคิด” (Part1)

คนจำนวนไม่น้อยเกียจคร้านในการคิด ไม่พยายามออกแรงคิดอย่างเต็มที่ บางคนคิดและพูดเพียงเพื่อปัดเรื่องนี้ให้พ้นตัวไปเท่านั้น เพราะคิดว่าอย่างไรเสียหัวหน้าต้องเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่แล้ว เช่น ในการประชุม บ่อยครั้งที่หัวหน้าต้องเป็นพระเอกฉายเดี่ยว ทำหน้าที่พูดอยู่ฝ่ายเดียว หรือมีทีมงานบางคนแสดงความคิดเห็น ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่ทีมงานที่เหลือกลับเข้ามา “สูดอากาศ” อย่างเดียว นั่งเฉย ๆ หรือนั่งฟังอย่างตาลอย ด้วยสมองว่างเปล่า บ้างก็รอว่าเมื่อไรการประชุมจะจบลง และไม่ได้ช่วยคิดอะไรเลย

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที (Part 4) จากบทความของ Dr.Kriengsak

แสดงออกถึงการเห็นคุณค่าในความคิดของแต่ละคน

ลูกน้องหลายคนกลัวความผิดพลาดจะตกแก่ตน กลัวล้มเหลว กลัวเสียหน้า บางคนคิดว่าตนเองมีความสามารถไม่มากพอที่จะคิดได้ดีกว่าหัวหน้า หรือคนที่มีประสบการณ์มากกว่า จึงไม่กล้าที่จะเสนอความคิดเห็นที่แตกต่างจากหัวหน้าหรือคนหมู่มาก เพราะเกรงว่าเมื่อเสนออะไรออกไปคนอื่นจะรู้สึกขบขัน หรือมองว่ามีความคิดตื้น ๆ

ในความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่า คนทุกคนมีเสรีภาพและศักยภาพในการคิด ดังนั้น หัวหน้างานจึงมีภารกิจสำคัญในการเป็นตัวหลักคอยกระตุ้นให้คนกล้าคิดและตั้งใจใช้ความคิดอย่างเต็มที่ แม้ว่าบางครั้งความคิดนั้นจะแตกต่างหรือขัดแย้งกับหัวหน้าหรือคนส่วนใหญ่ก็ตาม และควรรับฟังด้วยดีเมื่อพนักงานได้คิดใคร่ครวญในข้อเสนอมาอย่างดี โดยนำข้อเสนอเหล่านั้นไปคิดทบทวนเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดอีกครั้ง

ในกรณีที่ความคิดหรือข้อเสนอของพนักงานยังไม่ดีเพียงพอ แต่หัวหน้าสังเกตเห็นว่า พนักงานคนนั้นได้ใช้ความพยายามอย่างสุดกำลังความสามารถในการกลั่นกรองความคิดนั้น ๆ แล้ว หัวหน้าควรชมเชยในความพยายามของเขา จากนั้นค่อยชี้แจงถึงข้อบกพร่องด้วยเหตุด้วยผลให้พนักงานได้รับรู้ถึงจุดอ่อนเพื่อปรับปรุงข้อเสนอ และให้กำลังใจเขาในการคิดข้อเสนออื่น ๆ ต่อไป

หัวหน้าควรสร้างกลไกบางอย่างที่ทำให้พนักงานได้รับความสำเร็จทุกครั้งจากการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ให้รางวัลคนที่พยายามคิด เช่น มอบรางวัลให้กับพนักงานที่เสนอความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาระบบการทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดให้ดีขึ้น และแนวคิดนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง สิ่งตอบแทนที่หัวหน้ามอบให้นั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของเงินทองหรือสิ่งของเท่านั้น แต่อาจอยู่ในรูปของการให้เกียรติ ยกย่อง และประกาศผลงานให้คนอื่นๆ ได้รับรู้และร่วมแสดงความยินดี

 

องค์กรจะเติบโตและพัฒนายาก หากคนรอบข้างหัวหน้างานมีแต่คนอย่าง Mr. Yes เพราะขาด“พลังทวีคูณ” ที่กลั่นและหลอมรวมจากมันสมองของพนักงานทุกคน อันเป็นพลังสำคัญขับเคลื่อนองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของยุคนี้ ดังนั้น หัวหน้างานควรพยายามเต็มที่ในการกระตุ้นพนักงานทุกคนให้ปลดปล่อยศักยภาพทางความคิด ความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อทั้งตัวพนักงาน ต่อทีมงานและต่อทั้งองค์กร

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที (Part 3) จากบทความของ Dr.Kriengsak

กระตุ้นพนักงาน “รัดเข็มขัดทางความคิด”

คนจำนวนไม่น้อยเกียจคร้านในการคิด ไม่พยายามออกแรงคิดอย่างเต็มที่ บางคนคิดและพูดเพียงเพื่อปัดเรื่องนี้ให้พ้นตัวไปเท่านั้น เพราะคิดว่าอย่างไรเสียหัวหน้าต้องเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายอยู่แล้ว เช่น ในการประชุม บ่อยครั้งที่หัวหน้าต้องเป็นพระเอกฉายเดี่ยว ทำหน้าที่พูดอยู่ฝ่ายเดียว หรือมีทีมงานบางคนแสดงความคิดเห็น ถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่ทีมงานที่เหลือกลับเข้ามา “สูดอากาศ” อย่างเดียว นั่งเฉย ๆ หรือนั่งฟังอย่างตาลอย ด้วยสมองว่างเปล่า บ้างก็รอว่าเมื่อไรการประชุมจะจบลง และไม่ได้ช่วยคิดอะไรเลย

การกระตุ้นคนประเภทนี้ หัวหน้าควรแสดงความตั้งใจ ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดในการวิพากษ์ เสนอแนะแนวทางต่าง ๆ ไม่ใช่นั่งประชุมพอเป็นพิธี รอให้การประชุมจบ ๆ ไปเท่านั้น  และต้องคอยกระตุ้นให้ทีมงานออกแรงคิด โดยชี้แจงต่อพนักงานเหล่านี้ว่า พนักงานที่ขาดความจดจ่อ ไม่ให้เวลา ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ตั้งใจลงทุนลงแรงคิดอย่างเต็มที่ การกระทำเช่นนี้นับเป็นการปัดความรับผิดชอบให้กับหัวหน้าและทีมงานคนอื่น ๆ ดังนั้น ควรเห็นคุณค่าของการคิด แสดงออกถึงความพยายามคิดกับงานต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาอย่างดีที่สุด

อีกวิธีหนึ่งอาจให้ทีมงานช่วยคิด โดยที่หัวหน้าตั้งคำถามเชิงวิพากษ์ เช่น “คุณคิดว่า ข้อเสนอของคุณสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด” และให้ทุกคนใช้ความคิดอย่างเต็มที่ มีโอกาสเสนอความเห็นของตนต่อที่ประชุม รวมทั้งให้จดความคิดที่ดีของเพื่อนมาขบคิด การจดไม่เพียงช่วยเตือนความจำ แต่ยังเป็นกระบวนการที่ฝึกฝนการจับประเด็นและช่วยให้เราขบคิดในเรื่องที่สำคัญ

ในกรณีที่การประชุมครั้งนั้น ๆ มีเวลาจำกัด ควรแนะนำให้ทีมงานกลับไปคิดต่อได้ เช่น ระหว่างเดินทาง และเขียนประเด็นที่คิดเพิ่มส่งมาให้เลขาฯ ของที่ประชุมในวันอื่น ๆ เพื่อรวบรวมเสนอต่อที่ประชุมในวาระต่อไป เป็นต้น.

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com

เลิกเป็นหุ่นยนต์ Mr. Yes เสียที (Part 2) จากบทความของ Dr.Kriengsak

สร้างบรรยากาศให้คนกล้าคิด กล้าพูด

ขั้นแรก หัวหน้างานควรพยายามเปลี่ยนแปลงทีมงานให้ตระหนักว่า ทุกคนมีส่วนสำคัญต่อการพิชิตเป้าหมายให้สำเร็จ หัวหน้างานควรท้าทายทีมงานให้กล้าพูด ให้กำลังใจ สื่อสารให้ทีมงานรับรู้ว่า ไม่มีความคิดใดถูกมองข้าม ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเท่าเทียมกัน

ทุกครั้งที่มีการประชุมกับทีมงาน ผมมักจะพูดเสมอว่า “ความคิดของผมอาจจะผิดก็ได้ พวกเรามีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ?” บางครั้งผมใช้วิธีไล่ถามเป็นรายบุคคลเพื่อขอความคิดเห็น ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมจะเกิดความตื่นตัวและคิดตามตลอดเวลา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไปมา จนได้ข้อสรุปที่ดีกว่าการที่ผมนั่งคิดคนเดียว

หนังสือชื่อ วาทะของบิล เกตส์ ในหนังสือชุด “วาทะคนแถวหน้า” ที่ผมแปลไว้ มีการเล่าถึงบรรยากาศการประชุมของไมโครซอฟต์ว่า แทบทุกครั้ง เมื่อมีการเสนอความคิดหรือโครงการใหม่ ๆ จะเหมือนเกิดการทะเลาะกัน คล้ายกับกำลังอยู่ในสนามรบทางความคิด เพราะผู้ที่เสนอความคิดจะถูกบิล เกตส์ซักไซร้ ไล่เลียง ปรามาสความคิดที่เสนอนั้น โดยแสดงออกทั้งคำพูด และท่าทางที่รุนแรงและเอาจริงเอาจัง ขณะเดียวกัน ผู้เสนอจะโต้เถียงเพื่อพิสูจน์ว่าความคิดของเขานั้นดีอย่างไร และหากใครสามารถยืนหยัดโต้เถียงได้สำเร็จ บิล เกตส์ และคณะผู้บริหารจึงจะรับโครงการนั้น จากบรรยากาศเช่นนี้เอง ทำให้เจ้าหน้าที่ของไมโครซอฟต์ไม่กลัวที่จะคิดแตกต่าง และสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทนี้สามารถค้นคิด ผลิตนวัตกรรมต่าง ๆ ออกมาได้เป็นจำนวนมาก

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.comkriengsak.comdrdancando.com